หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นแล้ว ยากที่จะหายขาด แต่ กายภาพบำบัด ช่วยได้!!!!
เป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ในประเทศไทยมีการเก็บรวบรวมสถิติการเกิดโรค จากสภากาชาดไทยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคพาร์กินสันอยู่ที่ 425 คน ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งพบมากในประชากรแถบภาคกลางของประเทศ คนไทยสมัยโบราณรู้จักโรคพาร์กินสันมานานแล้วในนามของ 'โรคสันนิบาตลูกนก'
พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทสมองส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งทําหน้าที่ผลิตสาร dopamine ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งสารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลัง เกิดการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น และประสานการทำงานกันได้เป็นอย่างดี
หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ การทำงานของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัดได้
อาการของพาร์กินสัน 1) มีอาการสั่นขณะอยู่นิ่งๆ แต่อาการสั่นจะหายไปเมื่อมีการเคลื่อนไหว 2) มีอาการแข็งเกร็ง เกิดการตึงของแขนขาทําให้เคลื่อนไหวลําบาก 3) การทรงตัวไม่ดี เสี่ยงต่อการล้ม 4) ใบหน้านิ่งเฉย ไม่แสดงอารมณ์ 5) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง 6) พูดลำบาก พูดช้า ขณะพูดไม่มีเสียงสูงตํ่า 7) เขียนตัวหนังสือเล็กลง 8) หลังค่อม ตัวงุ้มลง
สาเหตุ ในปัจจุบันนี้สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้คือ -พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า - อนุมูลอิสระ Free radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ - มีสารพิษหรือToxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง, alcohol เป็นต้น - เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังคงเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้จากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และการทํากายภาพบําบัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำผู้ป่วยมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการได้รับยาและการได้รับคำแนะนำที่ดีสามารถช่วยให้ผู้ป่วยชะลอความเสื่อมไว้ได้ดีกว่าในระยะที่เป็นรุนแรงแล้วจึงมารักษา
การรักษาทางกายภาพบําบัดนั้นมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทํากิจวัตรประจําวันให้ได้มากที่สุด โดยการฝึกการทรงตัว เพราะในผู้ป่วยพาร์กินสันทุกรายจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การยืดกล้ามเนื้อ เพราะผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะเกร็งกล้ามเนื้อมากกว่าปกติในขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเป็นผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยเกิดการตึง แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายไม่ราบเรียบ และในบางรายอาจมีภาวะข้อติดตามมาได้ การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้มากที่สุด, ลดภาระงานจากคนรอบข้าง และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เป็นต้น
หากต้องการเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือสอบถามรายละเอียดในการรักษาฟื้นฟู สามารถสอบถามได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอนตูม ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการ หรือ โทร 034-381768 ต่อ 277

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น