หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

เนื่องด้วย 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 แผนกกายภาพบำบัด ร่วมกับกลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลดอนตูมได้ทำ โครงการตรวจสมรรถภาพทางกายเพื่อป้องกันการล้ม และการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ณ อาคารกิจ-กายบำบัด ได้รับความร่วมมือจากผู้สูงอายุเป็นอย่างดี เลยนำภาพกิจกรรมมาให้ชมกันครับ











วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นแล้ว ยากที่จะหายขาด แต่ กายภาพบำบัด ช่วยได้!!!!
เป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ในประเทศไทยมีการเก็บรวบรวมสถิติการเกิดโรค จากสภากาชาดไทยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคพาร์กินสันอยู่ที่ 425 คน ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งพบมากในประชากรแถบภาคกลางของประเทศ คนไทยสมัยโบราณรู้จักโรคพาร์กินสันมานานแล้วในนามของ 'โรคสันนิบาตลูกนก'
พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทสมองส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งทําหน้าที่ผลิตสาร dopamine ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งสารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลัง เกิดการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น และประสานการทำงานกันได้เป็นอย่างดี
หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ การทำงานของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัดได้
อาการของพาร์กินสัน 1) มีอาการสั่นขณะอยู่นิ่งๆ แต่อาการสั่นจะหายไปเมื่อมีการเคลื่อนไหว 2) มีอาการแข็งเกร็ง เกิดการตึงของแขนขาทําให้เคลื่อนไหวลําบาก 3) การทรงตัวไม่ดี เสี่ยงต่อการล้ม 4) ใบหน้านิ่งเฉย ไม่แสดงอารมณ์ 5) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง 6) พูดลำบาก พูดช้า ขณะพูดไม่มีเสียงสูงตํ่า 7) เขียนตัวหนังสือเล็กลง 8) หลังค่อม ตัวงุ้มลง
สาเหตุ ในปัจจุบันนี้สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้คือ -พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า - อนุมูลอิสระ Free radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ - มีสารพิษหรือToxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง, alcohol เป็นต้น - เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังคงเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้จากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และการทํากายภาพบําบัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำผู้ป่วยมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการได้รับยาและการได้รับคำแนะนำที่ดีสามารถช่วยให้ผู้ป่วยชะลอความเสื่อมไว้ได้ดีกว่าในระยะที่เป็นรุนแรงแล้วจึงมารักษา
การรักษาทางกายภาพบําบัดนั้นมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทํากิจวัตรประจําวันให้ได้มากที่สุด โดยการฝึกการทรงตัว เพราะในผู้ป่วยพาร์กินสันทุกรายจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การยืดกล้ามเนื้อ เพราะผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะเกร็งกล้ามเนื้อมากกว่าปกติในขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเป็นผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยเกิดการตึง แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายไม่ราบเรียบ และในบางรายอาจมีภาวะข้อติดตามมาได้ การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้มากที่สุด, ลดภาระงานจากคนรอบข้าง และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เป็นต้น
หากต้องการเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือสอบถามรายละเอียดในการรักษาฟื้นฟู สามารถสอบถามได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอนตูม ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการ หรือ โทร 034-381768 ต่อ 277

ข้อเท้าแพลง อย่ามองข้าม

ข้อเท้าแพลง
ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ คนคงเคยข้อเท้าพลิก ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและบวมของข้อเท้า ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า “ข้อเท้าแพลง” ข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในนักกีฬาหรือพวกที่ใช้ข้อเท้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้การเดินบนพื้นที่ไม่เรียบ การลงจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำ การกระโดด หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูงต่างก็ล้วนเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเท้าแพลง
สาเหตุ
เกิดจากมีการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไปจึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น มีอาการปวดและบวมตามมา หากรุนแรงมากอาจส่งผลให้เอ็นขาด สูญเสียความมั่นคงของข้ออีกทั้งยังอาจได้ยินเสียงดัง “กร๊อบ” ในข้อเท้าได้ด้วย
เส้นเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บและพบบ่อยที่สุดคือ ชื่อ calcaneo-fibular ligament(ตามภาพ) เป็นเอ็นที่อยู่ทางด้านข้างของข้อเท้า ทำหน้าที่ยึดข้อเท้าทางด้านข้างให้มีความมั่นคง และเมื่อเอ็นเส้นนี้ได้รับบาดเจ็บจะเป็นเหตุให้ข้อเท้าขาดความมั่นคงขณะยืนลงนํ้าหนัก และเป็นที่น่าสังเกตอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ ในรายที่เป็นข้อเท้าแพลงและรักษาจนหายเป็นปกติดีแล้ว พบว่ามักเกิดข้อเท้าแพลงซํ้าได้ง่ายกว่าปกติ นั่นเป็นเพราะว่า ในเส้นเอ็นจะมีแขนงเส้นประสาทเล็กๆอยู่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณความรู้สึกของข้อเท้าขณะที่ข้อเท้ามีการเคลื่อนไหว และเมื่อเอ็นได้รับความเสียหายก็จะมีแขนงเส้นประสาทบางส่วนเสียหายไปด้วย จึงทำให้การรับรู้ความรู้สึกของข้อเท้าช้าลง กว่าจะรู้ตัวว่าข้อเท้ากำลังจะพลิกก็ทำให้ข้อเท้าพลิกเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
ข้อเท้าแพลงแบ่งระดับการบาดเจ็บเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับ 1 : ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง คือ เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด มีอาการปวด บวม แต่น้อย
ระดับ2: ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง มีอาการปวด บวม เฉพาะที่ และอาจมีเลือดคั่ง
ระดับ3 : ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกหมดทั้ง 3 เส้น ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง มีอาการปวด บวมมาก และมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไปอาการของข้อเท้าแพลงส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการเจ็บปวด ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรง และเจ็บเสียวบริเวณที่เอ็นยืดหรือฉีกขาด ถ้ารุนแรงมากจะรู้สึกเหมือนข้อฉีกหรือมีเสียงดังในข้อ หลังจากอุบัติเหตุ 1 วันจะมีอาการบวมตามมา (ในกรณีไม่รุนแรง) แต่อาจมีอาการบวมทันทีหากมีการฉีกขาดของเอ็น เห็นเป็นกระเปาะชัดเจน ต่อมาผิวหนังจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นเขียวคล้ำและจะค่อย ๆ จางหายไปใน 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังอาจพบว่าข้อเท้ามีความมั่นคงลดลงได้
การดูแลเบื้ยงต้น เมื่อพบว่าตัวเองเป็นข้อเท้าแพลงสิ่งแรกที่ต้องทำคือ พักการใช้เท้า นอนยกขาข้างที่มีปัญหาสูงขึ้นกว่าลำตัวเพื่อลดอาการบวม ประคบนํ้าแข็งเพื่อลดการปวดบวมและอักเสบ และใส่สนับข้อหรือพันข้อเท้า
สิ่งที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดเมื่อบาดเจ็บ คือ 1) ห้ามประคบร้อน 2) ห้ามนวดคลึง บริเวณที่ปวด เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้ 3) ห้ามทายานวดที่ให้ความรูัสึกร้อนทั้งสิ้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด ในรายที่มีอาการปวดมากและรู้สึกว่าความมั่นคงของข้อเท้าลดลงนั้น แนะนำให้เข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อใช้เครื่องมือ laser, ultrasound ในการลดการอักเสบ นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดจะแนะนำการพันเทปที่ข้อเท้าเพื่อป้องกันข้อเท้าแพลงซํ้า และแนะนำการออกกำลังกายบริหารข้อเท้าเพื่อเสริมความมั่นคงและลดโอกาสการเกิดข้อเท้าพลิกซํ้าได้ในอนาคต
หากต้องการเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือสอบถามรายละเอียดในการรักษาฟื้นฟู สามารถสอบถามได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอนตูม ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการ หรือ โทร 034-381768 ต่อ 240

โรคเข่าเสื่อม โรคยอดฮิตในวัยชรา แต่หนุ่มสาวก็เป็นได้นะ


  • โรคเข่าเสื่อม โรคยอดฮิตในวัยชรา แต่หนุ่มสาวก็เป็นได้นะ
    โรคนี้เกิดจากพยาธิสภาพบริเวณที่มีการเสียสมดุลของร่างกาย เนื่องจากเซลล์กระดูกอ่อนมีการสร้างเนื้อกระดูกอ่อนน้อยกว่าการสึกหรอ ซึ่งเกิดจากเซลล์กระดูกอ่อนมีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ การรับนํ้าหนักตัวที่มากเกินไป การสึกหรอของกระดูกอ่อน เป็นต้น
    การประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม - ตื่นขึ้นตอนเช้าเข่ามีอาการฝืดตึงไม่เกิน 30 นาที - ปวดในข้อเข่า - ข้อเข่าบวมมากกว่าปกติ - ข้อเข่าโก่งมากขึ้น - มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า - อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
    ความเสี่ยงที่ทําให้ข้อเสื่อม - ผู้ที่มีโครงสร้างของข้อเข่าผิดรูป เช่น เข่าโก่ง, lock knee เป็นต้น - ผู้ที่มีนํ้าหนักตัวมากกว่ามาตรฐานจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) - อายุมาก - เคยเกิดอุบัติเหตุต่อข้อเข่าโดยตรง - เล่นกีฬาที่มีการกระแทกต่อข้อเข่า เช่น บาสเก็ตบอล, วอลเลย์บอล เป็นต้น
    การรักษาทางกายภาพบําบัด ถ้าผู้ป่วยมีภาวะเข่าเสื่อมในระยะเริ่มแรก นักกายภาพบําบัดจะเน้นการออกกําลังกายกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากเพียงพอในการพยุงข้อเข่า แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดและมีภาวะข้อเข่าผิดรูป นักกายภาพบําบัดจะทําการฟื้นฟูโดยการ mobilization (ขยับข้อ)ในคนที่ข้อเข่าติด หรือทํา ultrasound, short wave, laser ในบุคคลที่มีอาการปวดเข่า และทุกๆการรักษาโดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบําบัดนั้น PT จะแนะนําท่าบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าเพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการรักษา
    ในรายที่มีอาการปวดมากๆแม้จะรักษาเสร็จแล้ว แต่อาการปวดก็ยังคงอยู่ นักกายภาพจะติด kinesiotape ที่บริเวณเข่า เพื่อให้เทปนี้ทำหน้าที่พยุงข้อเข่าไม่ให้กระดูกมันสบกันจนเกิดอาการปวดนั่นเอง
    หากต้องการเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือสอบถามรายละเอียดในการรักษาฟื้นฟู สามารถสอบถามได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอนตูม ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการ หรือ โทร 034-381768 ต่อ 240




วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ตารางการให้บริการ

ตารางการให้บริการโรงพยาบาลดอนตูม



                     เช้า                                            บ่าย                                       เช้า                                              เย็น

           ( 08.00-12.00)                            ( 13.00-16.30 )                         คลินิกพิเศษ                              (1ุ6.00-20.00)
จันทร์     ตรวจโรคทั่วไป                         ตรวจโรคทั่วไป                          กายภาพบำบัด                          แพทย์แผนไทย 
             คลินิกทันตกรรม                      
คลินิกทันตกรรม                                                                     รวจโรคทั่วไป
             แพทย์แผนไทย                        
แพทย์แผนไทย                                                                       ทันตกรรม 
             
ฝังเข็ม/กายภาพบำบัด                ฝังเข็มกายภาพบำบัด                                                              กายภาพบำบัด 
             กิจกรรมบำบัด                          กิจกรรมบำบัด                                             
             โรงทำขาเทียม 
                         โรงทำขาเทียม 
             ศูนย์ไตเทียม 
                           ศูนย์ไตเทียม 
             บำบัดยาเสพติด 
                       บำบัดยาเสพติด 
             คลินิกโรงเรียนพ่อแม่
                  คลินิกโรงเรียนพ่อแม่
             คลินิกอดบุหรี่




        
                     เช้า                                            บ่าย                                       เช้า                                              เย็น
            ( 08.00-12.00)                            ( 13.00-16.30 )                         คลินิกพิเศษ                              (1ุ6.00-20.00)
อังคาร     ตรวจโรคทั่วไป                         ตรวจโรคทั่วไป                              ฝังเข็ม                                แพทย์แผนไทย 
             คลินิเบาหวาน                          
คลินิกทันตกรรม                                                                     รวจโรคทั่วไป
             แพทย์แผนไทย                        
แพทย์แผนไทย                                                                       ทันตกรรม 
             
ฝังเข็ม/กายภาพบำบัด                ฝังเข็มกายภาพบำบัด                                                               กายภาพบำบัด 
             กิจกรรมบำบัด                          กิจกรรมบำบัด                                             
             โรงทำขาเทียม 
                         โรงทำขาเทียม 
             ศูนย์ไตเทียม 
                           ศูนย์ไตเทียม 
             
คลินิกวัณโรค                           คลินิกวัณโรค                 
             คลินิกวางแผนครอบครัว                 
             คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส

             คลินิกทันตกรรม       




                       เช้า                                            บ่าย                                       เช้า                                              เย็น
            ( 08.00-12.00)                            ( 13.00-16.30 )                         คลินิกพิเศษ                              (1ุ6.00-20.00)
พุธ          ตรวจโรคทั่วไป                         ตรวจโรคทั่วไป                             คลินิกรักษ์ไต                          แพทย์แผนไทย 
             คลินิกฝากครรภ์                
       คลินิกฝากครรภ์                                                                       รวจโรคทั่วไป
             แพทย์แผนไทย                        แพทย์แผนไทย                                                                       ทันตกรรม 
             
ฝังเข็ม/กายภาพบำบัด                ฝังเข็มกายภาพบำบัด                                                               กายภาพบำบัด 
             กิจกรรมบำบัด                          กิจกรรมบำบัด                                             
             โรงทำขาเทียม 
                         โรงทำขาเทียม 
             ศูนย์ไตเทียม 
                           ศูนย์ไตเทียม 
             คลินิกให้คำปรึกษา
                     คลินิกทันตกรรม     
           
 คลินิกทันตกรรม                                          
               





                      เช้า                                            บ่าย                                       เช้า                                              เย็น
            ( 08.00-12.00)                            ( 13.00-16.30 )                         คลินิกพิเศษ                              (1ุ6.00-20.00)
พฤ          ตรวจโรคทั่วไป                         ตรวจโรคทั่วไป                        คลินิกกิจกรรมบำบัด                      แพทย์แผนไทย 
             คลินิกฝากครรภ์                        
คลินิกทันตกรรม                                                                     รวจโรคทั่วไป
             แพทย์แผนไทย                        
แพทย์แผนไทย                                                                        ทันตกรรม 
             
ฝังเข็ม/กายภาพบำบัด                ฝังเข็มกายภาพบำบัด                                                               กายภาพบำบัด 
             กิจกรรมบำบัด                          กิจกรรมบำบัด                                             
             โรงทำขาเทียม 
                         โรงทำขาเทียม 
             ศูนย์ไตเทียม 
                           ศูนย์ไตเทียม 
             คลินิกโรคหอบหืด
                     งานเยี่ยมบ้าน    
             คลินิกวางแผนครอบครัว              
             คลินิกฟ้าใส

             คลินิกทันตกรรม       
             งานเยี่ยมบ้าน



                     เช้า                                            บ่าย                                       เช้า                                              เย็น
            ( 08.00-12.00)                            ( 13.00-16.30 )                         คลินิกพิเศษ                              (1ุ6.00-20.00)
ศุกร์        ตรวจโรคทั่วไป                         ตรวจโรคทั่วไป                           คลินิกแผนไทย                         แพทย์แผนไทย 
             คลินิกเบาหวาน                        
คลินิกทันตกรรม                                                                     รวจโรคทั่วไป
             แพทย์แผนไทย                        
แพทย์แผนไทย                                                                       ทันตกรรม 
             
ฝังเข็ม/กายภาพบำบัด                ฝังเข็มกายภาพบำบัด                                                               กายภาพบำบัด 
             กิจกรรมบำบัด                          กิจกรรมบำบัด                                             
             โรงทำขาเทียม 
                         โรงทำขาเทียม 
             ศูนย์ไตเทียม 
                           ศูนย์ไตเทียม                     
             คลินิกให้คำปรึกษา
                     คลินิกเด็กดี
             คลินิกเด็กดี

             คลินิกทันตกรรม       


                          หมายเหตุ: อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน / คลอด เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง
                                     เบอร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลดอนตูม 034-371521



วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แม่ทั้งหลายควรได้ออกกำลังกายเพราะ สุขภาพของคุณแม่ดี น้ำหนักเพิ่มไม่มาก หลังคลอดน้ำหนักจะลดเร็ว อารมณ์จะดีและหลับง่ายลดอาการท้องผูก ปวดหลังเส้นเลือดขอด ข้อแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย


เป็นการยากว่าจะออกกำลังแค่ไหนถึงพอดี แต่มีคำแนะนำให้ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายที่เคยออกกำลังกายให้ออกกำลังกายเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ แต่ต้องปรับความแรงของการออกกำลังกาย ให้ลดลงรวมทั้งระยะเวลาที่ออกกำลังก็ให้ลดลงสำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายก็ให้ค่อยๆเริ่ม ส่วนท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อนเช่นคลอดก่อนกำหนด แท้ง ความดันโลหิตสูง หรือมีเลือดออก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย การออกแต่ละครั้งควรอย่าให้เหนื่อยมากเกินไป อย่าออกจนหายใจหอบ แต่ต้องระวังเนื่องจากการตั้งครรภ์จะทำให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป และอาจจะได้รับอันตรายที่เกิดกับข้อเนื่องจากเอ็นจะหย่อน 


  คำแนะนำต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับแม่และลูก 1.ถ้าหากคุณเคยออกกำลังมาก่อนก็ให้ออกกำลังต่อโดยปรับความแรงและระยะเวลาที่ออกให้น้อยลง 2.ถ้าหากคุณไม่เคยออกกำลังแนะนำให้ค่อยๆออกกำลังย่าหักโหม ออกกำลังอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 3.อย่าออกกำลังจนเหนื่อยมาก หรือหัวใจเต้นเกิน 140 ครั้งต่อนาที 4.อย่าออกกำลังจนหายใจเหนื่อยหอบ นั้นย่อมแสดงว่าคุณขาด oxygen บุตรคุณก็จะขาดด้วย 5.ต้องเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสมคือมีแผ่นรองผ่าเท้า และ กันเข้าเท้า 6.ต้องใส่ยกทรงที่สามารถรองรับน้ำหนักเต้านมได้ 7.ให้หยุดพักระหว่างการออกกำลังบ่อยๆและดื่มน้ำมากๆ 8.ระหว่างออกกำลังให้หมั่นจับชีพขจรอย่าให้เกิน 140 ครั้ง 9.อย่าออกกำลังในที่ๆอากาศร้อน ฤดูร้อนให้ออกกำลังเวลาเช้าหรือเย็น 10.การยกน้ำหนักควรเน้นกล้ามเนื้อช่วงบนและกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง ไม่ควรยกน้ำหนักเกินศีรษะเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมากไป 11.หลังจากตั้งครรภ์เกิน 4 เดือนไปแล้วไม่ควรออกกำลังกายท่านอนเพราะมดลูกจะกดเส้นเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ไม่ควรยืนนานเกินไปเพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง 12.ควรมีการ warm upก่อนออกกำลังกาย cool down หลังออกกำลังกาย ควรมีการบริหารแบบ stretching ทุกครั้งที่มีการออกกำลังกาย 13.ให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย ผัก ผลไม้




วิธีการออกกำลังที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง 1.การเดิน การขี่จักรยาน ควรเป็นจักรยานที่อยู่กับที่มากกว่า 2.การเต้น aerobic ในน้ำ 3.การเต้น aerobic แบบเบาๆ 4.ว่ายน้ำ 5.การบริหารแบบยืดเส้น 6.การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ขั้นตอนการออกกำลังที่ดีสำหรับคนท้องควรเป็นอย่างไร 1.มีการ warm up 5-10 นาที 2.มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีโดยออกแบบเบาๆเช่นการเดิน การขี่จักรยานว่ายน้ำ เต้น aerobic ในน้ำ เป็นต้น 3,ออกกำลังอย่าให้หัวใจเต้นเกิน 140 ครั้ง 4.หลังออกกำลังกายให้ cool down อีก 5-10 นาที คุณควรหยุดการออกกำลังกายเมื่อไร 1.ปวดท้อง 2.เลือดออก 3.หน้ามืด เป็นลม 4.หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ 5.เดินลำบาก



กล้ามเนื้อกลุ่มไหนที่คุณควรออกกำลังให้แข็งแรง 1.กล้ามเนื้อหน้าท้องซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักเมื่อครรภ์แก่ขึ้น 2.กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งจะทำให้คลอดสะดวก มีอาการปัสสาวะเร็ดน้อย 3.กล้ามเนื้อหลังซึ่งจะทำให้ลดอาการของปวดหลังและหลังไม่โก่ง ตัวอย่างท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1.Kegel exercise เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การออกกำลังกายนี้จะช่วยให้ช่องคลอดขยายได้ง่าย ลดการฉีกขาดของฝีเย็บลดอาการของปัสสาวะเร็ด วิธีการออกกำลังกล้ามเนื้อกลุ่มนี้สามารถทำได้ง่ายโดยที่ไม่มีใครทราบ วิธีการคือการขมิบหรือการกลั้นปัสสาวะ มีการขมิบครั้งละ 5-10วินาทีแล้จึงผ่อนคลาย ทำวันละหลายๆครั้ง 2.Tailor Exercises เป็นการบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการคลอดประกอบด้วยท่าต่างๆดังนี้ Tailor Sitting นั่งบนพื้น ดึงเท้ามาชิดลำตัว ข้อเท้าไข้วกัน นั่งท่านี้ตราบเท่าที่ยังสามารถนั่งได้ Tailor Press นั่งบนพื้น ผ่าเท้าทั้งสองประกบกัน ดึงเท้าเข้าชิดลำตัว มือทั้งสองข้างสอดใต้เข่า ให้เข่าทั้งสองข้างกดลงบนมือขณะที่มือออกแรงต้านโดยกดลงเป็นเวลา 3 วินาทีจึงผ่อนคลาย ให้ทำซ้ำๆกัน 10 ทีต่อครั้ง ทำวันละ 2 ครั้ง




Tailor Sitting and Stretching นั่งหลังตรง เหยียดเท้าออกไป ปลายเท้าห่างกันประมาณ 1 ฟุต เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าซ้ายแล้วดึงกลับมา เหยียดแขนทั้งสองข้างไปตรงกลางแล้วดึงกลับมา เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าขวาแล้วดึงกลับมา แต่ละครั้งทำ 10 ที ทำวันละ 2 ครั้ง คุณแม่ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ (อายุครรภ์4-5เดือน) สามารถเข้าร่วมได้ที่ ห้องพัฒนาการเด็ก กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว ทุกวันพุธตั้งแต่เวลา 09.00-11.00 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอนตูม โทร.034-381768 ต่อ 277

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Driving rehabilitation

Driving rehabilitation
กิจกรรมฟื้นฟูการขับรถ เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญกับผู้รับบริการหลายคน หลังจากที่เขาเป็นโรคโหลดเลือดสมอง และได้รับการฟื้นฟูจนสามารถกลับไปใช้ ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่การใช้งานของแขน ที่ห่างหายจากการขับรถซึ่งเป็น "กิจกรรมที่ชอบ" มานาน ยังไม่เข้าที่เข้าทาง





มีการสับสนระหว่างขับรถในจังหวะเลี้ยว ทางกิจกรรมบำบัด จึงประเมินความสามารถในการขับ โดยมีการเตรียมพร้อมการใช้งานของกล้ามเนื้อ และทดลองขับจริง พร้อมทั้งแนะนำท่าทางที่เหมาะสม ที่ไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งแขนมากขึ้นขณะขับ





ปรากฎว่า ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำตามคำแนะนำ ในระยะเวลา 1เดือน ทำให้มีพัฒนาการการขับรถที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ในกิจกรรมที่ชอบ


งานกิจกรรมบำบัดโรงพยาบาลดอนตูม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม