หน้าเว็บ

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คลินิกวิจัยน้ำมันกัญชาทางการแพทย์

คลินิกวิจัยน้ำมันกัญชาทางการแพทย์



เปิดให้ยริการ 2วัน ทุกวัน พฤหัสบดี-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ วันหยุด นักขัตฤกษ์





****เวลา 13.30น-16.00น****

เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
**บัตรประจำตัวประชาชน
**ใบรับรองแพทย์(โรคที่ระบุ)
**ใบแสดงผลการตรวจเลือด(ผลไม่เกิน3เดือน)
**ยาที่รับประทานอยู่


รคที่ใชการรักษา
**มะเร็ง
**พาร์กินสัน
**อัลไซต์เมอร์
**ลมชัก
**โรคสะเก็ดเงิน
**โรคหอบหืด
**โรคไมเกรน
**โรคเอสแอลอี
**โรครูมาตอยด์
**โรคหอบหืด
**โรคนอนไม่หลับ
**ปวดเรื้อรังทุกชนิด
**โรคต่อมลูกหมากโต
**โรคเกาต์
**โรคตับอักเสบ
**อัมพฤกษ์-อัมพาต

**ผู้ป่วยอายุ 18ปีขึ้นไป



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
034-381768 ต่อ254







วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คลินิคกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

คลินิคกัญชาทางการแพทย์แผนไทย



วันที่ 6 กันยายน พศ.2562 โรงพยาบาลดอนตูมภายใต้การนำของนายแพทย์ มนะชัย อิงสุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลดอนตูม ได้ทำการเปิด คลินิคกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ณ.อาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย ตามนโยบาย13โรงพยาบาลนำร่อง คลินิคกัญชาทางการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก





วันเวลาที่เปิดให้บริการ 
เปิดให้บริการ ทุกวันศุกร์ เวลา 8.30-12.00 ณ.อาคารศุนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลดอนตูม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม โทร 034-382096
















วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

อาการ ภูมิแพ้ หืด ไอ ชาแปะก๊วย ช่วยคุณได้

อาการ ภูมิแพ้ หืด ไอ ชาแปะก๊วย ช่วยคุณได้



ถ้าจะให้ไล่ชื่อของสมุนไพรจีนที่ดีมีคุณค่าช่วยในการบำรุงสุขภาพ แน่นอนเลยล่ะว่านึกกันไม่หวาดไม่ไหวแน่ แต่ถ้าพูดถึงสมุนไพรจีนที่ช่วยบำรุงสมอง หลายคนคงนึกถึง "แปะก๊วย" เพราะเคยได้ยินคำโฆษณา หรืองานวิจัยที่บอกถึงสรรพคุณเด่นข้อนี้ 
    แปะก๊วย หรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ginkgo biloba เป็นสมุนไพรที่มีมาตั้งแต่โบราณ ว่ากันว่าเป็นพืชโบราณที่มีความเป็นมาตั้งแต่ 270 ล้านปีก่อน โดยเจ้าสมุนไพรชนิดนี้มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และถูกนำมาใช้ในแพทย์แผนจีนติดต่อกันมายาวนานกว่า 5,000 ปี ในอดีต แพทย์แผนจีนจะนิยมนำแปะก๊วยมาใช้ในการบำบัดอาการไอ หืด และภาวะภูมิแพ้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วส่วนที่นิยมนำมาสกัดหรือใช้ในการรักษาโรคมากที่สุดคือส่วนของใบ แต่คนก็นิยมนำเมล็ดของแปะก๊วยมาเป็นส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ มากมาย





   ตามตำรายาจีนมีการนำใบแปะก๊วยมาชงกับน้ำในขนาด 3 - 6 กรัม/วัน เพื่อรักษาอาการหอบหืด หูอื้อ กล้ามเนื้อตึง และอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจซึ่งเกิดจากเส้นเลือดตีบ (angina pectoris)
อย่างไรก็ตามอาจพบอาการข้างเคียงจากการใช้แปะก๊วยคือ อาจทำให้เกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ และอาการแพ้ ส่วนรายงานการวิจัยพบสารพิษในส่วนของเมล็ดแปะก๊วยเท่านั้น ไม่พบในส่วนอื่นๆ หรือในสารสกัดของแปะก๊วย ส่วนรายงานความเป็นพิษในหนูทดลองพบความเป็นพิษเมื่อกินในขนาดที่มากกว่า 1,600 มก./กก./วัน ซึ่งถือว่าเป็นสารสกัดที่เกิดพิษน้อยมาก การเกิดพิษจากการดื่มชาชงใบปะก๊วยอาจมาจากการปนเปื้อนจากสารโลหะหนักหรือเชื้อโรคบางชนิด ดังนั้นการนำใบแปะก๊วยมาชงดื่ม ก็ไม่น่าเกิดโทษใดๆ กับคนปกติที่สุขภาพดี นอกจากผู้นั้นจะแพ้แปะก๊วย
อ้างอิง
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



****สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือสอบถามรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE@ สแกนQRCODE เพิ่มเพื่อนได้เลยครับ










วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

ชามะรุมช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้


ชามะรุมช่วยลดไขมันในเส้นเลือด




ชามะรุม
ต่อกันด้วยชาจากสมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง “มะรุม” ถึงแม้ว่า “ชามะรุม” จะเป็นอะไรที่แปลกใหม่ในหมู่คนรักสุขภาพ แต่สำหรับชาวบ้านหรือคนทั่วไปนั้น มะรุมเป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่นำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด พร้อมรักษาสมดุลของระดับน้ำตาล เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ทำให้ถ่ายสะดวก โดยถูกบรรจุมาในถุงชาเพื่อความสะดวกในการชง


ชามีสีเหลืองอำพัน มีกลิ่นหอมละมุนและรสชาติกลมกล่อม ไม่ออกขมหรือหวานไป ทานแล้วช่วยให้ควบคุมน้ำหนักง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามชานี้ไม่ใช่ยาลดความอ้วนนะคะ ควรดื่มควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารอื่น ๆ และการออกกำลังกายด้วย
อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามะรุมมีผลค้างเคียงในสัตว์ทดลองเมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดให้หนูทดลองที่มีการผสมพันธุ์แล้ว พบว่าทำให้หนูทดลองเกิดอาการแท้งได้ จึงต้องระวังเรื่องการแท้งบุตรในสตรีที่มีครรภ์ด้วย


อ้างอิง
1. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข. 2552. "มะรุม: พืชสมุนไพรหลากประโยชน์". จุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับ 26(4)
2. นักเขียนหนังสือพิมพ์เดลินิส. "มะรุม พืชอาหารและสมุนไพรที่มีสรรพคุณเลิศ". Dailynews. 2557. แหล่งที่มา:http://www.dailynews.co.th/…/มะรุม...พืชอาหารและสมุนไพรที่ม…
3. "Moringa Tree". Trees For Life Internation. 2014. Web Site:https://www.treesforlife.org/our-wo…/our-initiatives/moringa



วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

                                           
                                                  การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง